ประเทศไทยเรานิยามตัวเองว่าคือเจ้าแห่งศิลปะ มวยไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร แม้ในความจริงศิลปะแขนงนี้จะเป็นวัฒนธรรมร่วมของชาวอุษาคเนย์ก็ตามที และด้วยความนิยมของคนไทยที่ชื่นชอบการเสพศิลปะ มวยไทย ผ่านการรับชมการแข่งขันเวทีต่าง ๆ ติดตามต่อในข่าวกีฬา
ทั้งเวทีมาตรฐาน (ลุมพีนี-ราชดำเนิน) และมวยตู้ (ถ่ายทอดตามช่องโทรทัศน์) ซึ่งเวทีจำนวนมากเช่นนี้ทำให้นักมวยมีโอกาสขึ้นชกโชว์ฝีมือ แต่มันจะช่วยให้สามารถชกมวยสากลเก่งด้วยหรือไม่นั้น วันนี้เราจะมาหาข้อเท็จจริงกัน
ก่อนอื่นต้องกล่าวก่อนว่ามวยไทยกติกาสามารถใช้ได้ทุกส่วน เท้า หมัด เข่า ศอก นั่นจึงทำให้นักมวยไทยแต่ละคนมีสไตล์เป็นของตัวเอง จนถึงขั้นมีการตั้งฉายา เช่น ที่บ้านรับจ้างตีเข่า (เก่งแทงแข่า) , ศอกอาบยาพิษ (ชำนาญการสับศอกใส่คิ้วคู่ต่อสู้) แข้งพิชิตก้านคอ (เก่งเตะเพื่อน็อคคู่ต่อสู้) และหมัดทลวงไส้ (การน็อคคู่ต่อสู่ด้วยหมัด)
ซึ่งหากไล่เรียงจะพบว่าสไตล์นักมวยไทย เชี่ยวชาญการใช้เข่า ศอก เท้า และหมัด ไล่เรียงลงมาตามลำดับ โดยสาเหตุที่เข่าและศอก มีมาก เพราะเป็นอาวุธที่รุนแรง การโดนอย่าจังเพียงครั้งเดียวสามารถน็อคคู่ต่อสู้ได้ทันที แต่การเตะกับต่อยนั้นจัดเป็นอาวุธเบาที่ยากแก่น็อคคู่ต่อสู้ ทำให้ส่วนใหญ่เป็นเพียงการป้องกันตัวกับตอบโต้เท่านั้น
เมื่อแต่เมื่อนักชกคนหนึ่งๆ จะเปลี่ยนมาชกมวยสากล ทุกอย่างจะต้องขึ้นอยู่กับหมัดเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะรับหรือโจมตี รวมถึงสเต็ปเท้าก็เปลี่ยนแปลงไป นั่นจึงทำให้เห็นได้ว่า แม้จะขึ้นชื่อว่ามวยเหมือนกัน แต่ทั้งมวยไทยกับมวยสากล ต่างมีรูปแบบคนละทางที่ชัดเจน
อีกทั้งมวยไทยหมัดเป็นเรื่องรอง ขณะที่มวยสากล หมัดคือหัวใจของนักชก ทำให้การที่นักมวยไทยจะเปลี่ยนมาชกมวยสากล หากเป็นนักมวยถนัดการใช้หมัดซึ่งมีอยู่น้อยมากในวงการมวยไทยก็ย่อมใช้เวลาไม่นานในการปรับตัว แต่หากเป็นมวยเข่า ศอก อาจเป็นเรื่องยากและไม่คุ้มเสียกับการเปลี่ยนไปชกมวยสากล
ฉะนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่ามวยไทยไม่ได้ช่วยพัฒนาให้ชกมวยสากลได้เก่งเท่าใดนัก เพราะนักมวยไทยเกือบ80% ไม่ได้ใช้หมัดเพื่อทำลายคู่ต่อสู้ แต่เป็นการโต้หรือป้องกันเท่านั้น ขณะที่มวยสากลหมัดคือทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะรับหรือโจมตีคู่ต่อสู้